12 วิธีติดตั้งแอร์บ้านเย็นฉ่ำ หลายคนอาจไม่รู้ มีขั้นตอนยังไงบ้าง?

วิธีติดตั้งแอร์

วิธีติดตั้งแอร์ให้บ้านเย็นฉ่ำ มีขั้นตอนที่ควรรู้ยังไงบ้าง?

2025-04-28

เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นในทุก ๆ วัน ทำให้คนหันมาใช้แอร์กันมากขึ้น แต่การจะให้แอร์เย็นฉ่ำและใช้งานได้ยาวนานนั้น ต้องเริ่มต้นจากวิธีติดตั้งแอร์ให้ถูกต้อง! การที่เรารู้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีการติดตั้งแอร์ก็เป็นประโยชน์ไม่น้อย เพราะสามารถช่วยให้เราเข้าใจวิธีการใช้งานแอร์ได้ดีขึ้น และหากเกิดปัญหา เราจะสามารถแก้ไขเบื้องต้นได้อย่างเหมาะสม ในบทความนี้ เราขอเสนอสาระดี ๆ เกี่ยวกับข้อควรรู้เกี่ยวกับการติดตั้งแอร์ที่ถูกต้อง เพื่อช่วยให้คุณมั่นใจและใช้งานแอร์ได้อย่างปลอดภัยและคุ้มค่าที่สุด

 

 

1. ตรวจสอบพื้นที่สำหรับใช้ในการติดตั้งแอร์

 

ขั้นตอนแรกของวิธีติดตั้งแอร์เริ่มจากตรวจสอบพื้นที่ที่คุณต้องการใช้สำหรับการติดตั้งแอร์ โดยเฉพาะขนาดของห้องหรือพื้นที่ใช้งาน เพราะขนาดพื้นที่มีผลต่อการเลือกขนาด BTU แอร์ รวมถึงตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการติดตั้งคอมเพรสเซอร์และตัวเครื่องแอร์

 

 

2. เลือกของ BTU ของแอร์ให้เหมาะสมขนาดของห้อง

 

วิธีติดตั้งแอร์ในขั้นตอนที่ 2 วิธีการเลือก BTU แอร์ให้เหมาะสมขนาดห้อง โดยคุณสามารถคำนวณหาค่า BTU คร่าว ๆ ได้ง่าย ๆ โดยใช้สูตร พื้นที่ห้อง (กว้าง x ยาว) x ค่าตัวแปร ซึ่งค่าตัวแปรจะขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานและระดับความร้อนของห้อง ยกตัวอย่างเช่น หากห้องนอนมีขนาดกว้าง 3 เมตร และยาวประมาณ 6 เมตร การคำนวณคือ 3 x 6 x 700 = 12,600 ดังนั้น ค่า BTU ที่เหมาะสมสำหรับห้องนี้จะอยู่ระหว่าง 12,000-14,000 BTU

 

โดยค่าตัวแปรสามารถพิจารณาได้จากลักษณะของห้อง โดยห้องที่มีความร้อนน้อย เช่น ห้องขนาดเล็ก ห้องนอนหรือห้องที่ไม่โดนแสงแดด จะใช้ค่าตัวแปรอยู่ที่ 700-800 แต่หากเป็นห้องรับแขกหรือห้องที่มีความร้อนปานกลางโดนแดดบางเวลา ค่าตัวแปรจะอยู่ที่ 800-900 และหากเป็นห้องที่มีความร้อนมาก หรือเเรียกง่าย ๆ ว่าอยู่ในพื้นที่ที่โดนแดดจัด และห้องที่มีฝ้าเพดานสูง ค่าตัวแปรควรเพิ่มขึ้นเป็น 900-1200

 

 

3. เลือกแอร์ที่มีฉลากเบอร์ 5 เท่านั้น

 

มาต่อกันที่ขั้นตอนการติดตั้งแอร์อย่างถูกต้อง อย่างที่เราทราบกันอยู่แล้วว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ รวมถึงเครื่องปรับอากาศ วิธีการเลือกใช้ควรเลือกใช้ที่มีฉลากเบอร์ 5 ติดอยู่ แต่รู้หรือไม่ว่า ฉลากเบอร์ 5 นั้นมีการระบุค่าประสิทธิภาพการใช้พลังงานสองแบบ คือ EER (Energy Efficiency Ratio) และ SEER (Seasonal Energy Efficiency Ratio)

 

  • ค่า EER ใช้สำหรับเครื่องปรับอากาศแบบความเร็วคงที่ (Fixed Speed) โดยวัดประสิทธิภาพการใช้พลังงานภายใต้อุณหภูมิภายนอกคงที่

  • ค่า SEER ค่ามาตรฐานใหม่ ใช้สำหรับเครื่องปรับอากาศแบบอินเวอร์เตอร์ (Inverter) ที่สามารถปรับความเร็วรอบของคอมเพรสเซอร์ตามสภาวะโหลดและอุณหภูมิภายนอกที่เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล

 

การเลือกเครื่องปรับอากาศที่มีค่า EER และ SEER สูงจะช่วยประหยัดพลังงานได้มากขึ้น ดังนั้น ข้อแนะนำเพิ่มเติมสำหรับคนที่กำลังตัดสินใจเลือกแอร์ ให้เลือกแอร์ที่มีฉลากเบอร์ 5 และมีค่า EER และ SEER สูง

 

 

4. เลือกประเภทของแอร์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

 

 

ในขั้นตอนที่ 4 ของวิธีติดตั้งแอร์ สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามคือการเลือกประเภทของแอร์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งปัจจุบันแอร์ที่นิยมเลือกใช้กันจะมีอยู่ 2 ระบบหลัก ได้แก่ ระบบ Fix Speed (หรือระบบธรรมดา) และ ระบบ Inverter โดยทั้งสองระบบมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของแต่ละพื้นที่

 

  • ระบบ Fix Speed (แอร์ธรรมดา) : ระบบนี้ทำงานโดยการตัดและสตาร์ทการทำงานของคอมเพรสเซอร์ เมื่ออุณหภูมิถึงจุดที่ต้องการแล้ว ระบบจะหยุดทำงานชั่วคราว และเมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น ระบบจะเริ่มทำงานใหม่อีกครั้ง วิธีการนี้อาจทำให้เกิดการใช้พลังงานมากขึ้น เนื่องจากการสตาร์ทคอมเพรสเซอร์ใหม่แต่ละครั้งกินไฟมาก เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีการเปิด-ปิดบ่อย เช่น ร้านค้า ร้านกาแฟ หรือสถานที่ที่อุณหภูมิไม่นิ่งตลอดเวลา

 

  • ระบบ Inverter : ระบบนี้มีความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิได้แม่นยำกว่า เมื่ออุณหภูมิในห้องถึงจุดที่ต้องการแล้ว คอมเพรสเซอร์จะไม่หยุดทำงาน แต่จะลดรอบการทำงานลงเพื่อรักษาระดับอุณหภูมิให้คงที่ ทำให้ประหยัดพลังงานและให้ความเย็นที่สม่ำเสมอ เหมาะสำหรับบ้านพักอาศัย หรือพื้นที่ที่มีการเปิด-ปิดไม่บ่อย

 

 

5. จัดเตรียมทำความสะอาดพื้นที่ติดตั้งแอร์

 

วิธีติดตั้งแอร์ที่บ้านนั้นให้จัดเตรียมทำความสะอาดพื้นที่ติดตั้งแอร์เป็นวิธีที่สำคัญอย่างมาก เพื่อให้แน่ใจว่าพื้นที่ปราศจากฝุ่น สิ่งสกปรก หรือเศษวัสดุที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของแอร์ ควรใช้ผ้าชุบน้ำหมาดหรือเครื่องดูดฝุ่นทำความสะอาดพื้นผิวบริเวณผนังและพื้นที่โดยรอบ

 

 

6. เลือกตำแหน่งติดตั้งแอร์ตามประเภทของแอร์ที่เลือก

 

วิธีติดตั้งแอร์จำเป็นต้องคำนึงถึงตำแหน่งติดตั้งที่เหมาะสมกับประเภทของแอร์ที่เลือก สำหรับ แอร์แบบติดผนัง จะเหมาะกับพื้นที่ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง โดยแอร์ประเภทนี้มีขนาดเล็กกะทัดรัดและติดตั้งง่าย ส่วนแอร์แบบแขวนใต้ฝ้า เหมาะกับพื้นที่ขนาดใหญ่ขึ้น เนื่องจากตัวเครื่องแขวนใต้ฝ้าเพดาน จึงช่วยกระจายความเย็นได้อย่างทั่วถึง

 

สำหรับวิธีติดตั้งแอร์ 4 ทิศทางหรือแอร์ฝังซ่อนจะตอบโจทย์การตกแต่งที่ต้องการความสวยงามและกลมกลืนกับฝ้าเพดาน โดยวิธีติดตั้งแอร์ประเภทนี้มีความซับซ้อนและต้องอาศัยช่างผู้เชี่ยวชาญ ทั้งนี้ การเลือกตำแหน่งที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแอร์และลดการสิ้นเปลืองพลังงานได้อย่างดี

 

 

7. ติดตั้งระบบท่อน้ำยาแอร์

 

 

ขั้นตอนที่ 7 วิธีติดตั้งแอร์ โดยติดตั้งระบบท่อน้ำยาแอร์ต้องใช้ความระมัดระวังและความชำนาญของช่างเพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นหรือสิ่งสกปรกเข้าไปในท่อระหว่างการติดตั้ง หากมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในระบบน้ำยาแอร์ อาจทำให้เครื่องแอร์ทำงานผิดปกติหรือเสียหายได้

 

 

8. การติดตั้งเครื่องคอมเพรสเซอร์แอร์

 

การติดตั้งเครื่องคอมเพรสเซอร์แอร์เป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะคอมเพรสเซอร์ถือเป็นหัวใจหลักของระบบปรับอากาศ เชื่อว่ามีหลายคนที่สงสัยว่าติดคอมเพรสเซอร์แอร์ตรงไหนดี? ความจริงแล้วควรติดตั้งคอมเพรสเซอร์ภายนอกอาคาร โดยสามารถเลือกติดตั้งได้ทั้งแบบแขวนหรือแบบตั้งบนพื้น ควรติดตั้งให้ห่างจากผนังอย่างน้อย 50 ซม. และหลีกเลี่ยงการติดตั้งในพื้นที่ที่มีสิ่งกีดขวางทางลมหรือพื้นที่ที่อาจมีน้ำท่วมขัง เพื่อให้การทำงานของคอมเพรสเซอร์มีประสิทธิภาพสูงสุด

 

นอกจากนี้ ควรเลือกคอมเพรสเซอร์ที่มีการรับประกันความทนทานต่อสภาพอากาศร้อนชื้นของเมืองไทย และเลือกคุณภาพวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ผลิตที่แข็งแรงเพื่อยืดอายุการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้น

 

 

9. เชื่อมท่อทองแดงและบานแฟร์

 

ขั้นตอนที่ 9 วิธีติดตั้งแอร์หลังจากติดตั้งเครื่องคอมเพรสเซอร์แอร์ ทางช่างจะทำการเชื่อมท่อทองแดงและบานแฟร์ ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นการช่วยให้ระบบปรับอากาศทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากท่อทองแดงเป็นส่วนที่ใช้ในการส่งผ่านสารทำความเย็นระหว่างคอมเพรสเซอร์และตัวแอร์ในบ้าน การบานแฟร์ (Flare) เป็นการขยายปลายท่อทองแดงเพื่อให้เชื่อมต่อกับข้อต่อต่าง ๆ ได้แน่นหนาและป้องกันการรั่วซึม

 

 

10. เดินระบบไฟฟ้าสำหรับการติดตั้งแอร์

 

การเดินระบบไฟฟ้าเป็นขั้นตอนสำคัญโดยต้องตรวจสอบกำลังไฟของแอร์และเดินสายไฟให้เหมาะสมกับการใช้งาน ควรติดตั้งเบรกเกอร์แยกเฉพาะเพื่อความปลอดภัย ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร และสามารถตัดไฟเฉพาะส่วนของแอร์ได้ในกรณีฉุกเฉิน นอกจากนี้ ควรใช้สายไฟที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน มอก.11-2553 และรองรับกระแสไฟที่เพียงพอ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการเกิดความร้อนสะสมหรือไฟฟ้าขัดข้องในระยะยาว

 

 

11. ติดตั้งท่อน้ำทิ้งเพื่อระบายน้ำ

 

การติดตั้งท่อน้ำทิ้งอีกหนึ่งขั้นตอนที่ขาดไม่ได้ในวิธีติดตั้งแอร์ เพื่อป้องกันน้ำหยดหรือน้ำขังที่อาจก่อให้เกิดปัญหาในระยะยาว ท่อน้ำทิ้งควรติดตั้งในตำแหน่งที่ลาดเอียงพอเหมาะเพื่อช่วยให้น้ำระบายออกได้อย่างสะดวก และควรวางให้ห่างจากพื้นที่ที่อาจเกิดการอุดตัน เช่น ใกล้ท่อระบายน้ำ หรือ สิ่งกีดขวางอื่น ๆ เป็นต้น

 

 

12. ทดสอบระบบแอร์และตรวจสอบความเรียบร้อย

 

 

ขั้นตอนสุดท้ายของวิธีติดตั้งแอร์ คือ การทดสอบการทำงานของระบบและตรวจสอบความเรียบร้อยทั้งหมด เริ่มจากการเปิดใช้งานแอร์เพื่อตรวจสอบว่าความเย็นทำงานได้ตามปกติ คอมเพรสเซอร์และพัดลมไม่มีเสียงผิดปกติ รวมถึงตรวจสอบการระบายน้ำทิ้งว่ามีการไหลอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ควรตรวจดูจุดเชื่อมต่อของท่อทองแดงและข้อต่อต่าง ๆ ว่ามีการรั่วซึมหรือไม่ การตรวจสอบทั้งหมดนี้ช่วยให้มั่นใจว่าแอร์พร้อมใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและไม่มีปัญหาในระยะยาว

 

 

วิธีติดตั้งแอร์ สิ่งสำคัญที่คุณควรรู้ เพื่อให้แอร์เย็นฉ่ำและใช้งานได้ยาวนาน

 

ขั้นตอนวิธีติดตั้งแอร์ทั้งหมดนี้ ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำความเย็น อายุการใช้งาน และค่าไฟฟ้าในระยะยาว ดังนั้น การติดตั้งให้เป็นไปตามมาตรฐานและถูกวิธีการ ควรดำเนินการติดตั้งโดยช่างผู้ชำนาญการด้านการติดตั้งแอร์โดยเฉพาะ เพราะช่างจะรู้ว่าอุปกรณ์ติดตั้งแอร์มีอะไรบ้าง วิธีการที่ถูกต้องเป็นอย่างไร และเพื่อให้การติดตั้งแอร์ที่ถูกต้องตามมาตรฐานและปลอดภัยต่อการใช้งานในระยะยาว

 

สนใจแอร์อินเวอร์เตอร์ LG สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.LG.com และพิเศษสุด ๆ ที่ตอนนี้ LG มอบสิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก LG Member ที่ยกขบวนทั้งส่วนลดและบริการสุดพิเศษมาให้คุณ เพียงแค่สมัครสมาชิก LG Member

 

  • รับส่วนลด 10% ทุกการสั่งซื้อ (ยกเว้นการสั่งซื้อผ่านบริการ LG Subscribe)

  • Special Offer ผ่อน 0% สูงสุดถึง 18 เดือน *เฉพาะบัตรที่ร่วมรายการ

  • แอลจีบริการจัดส่งฟรีไม่มีขั้นต่ำ พร้อม Exclusive Care+ สำหรับสินค้าที่ร่วมรายการ

     



     

สมัคร LG Member เพื่อรับสิทธิพิเศษ

 

 

ติดต่อ LG
โทรศัพท์ 02 057 5757

ทุกวัน 8:00-18:00 น.

อีเมล: supportlgeth@lge.com

 

*ทดสอบในพื้นที่ที่ขนาดไม่เกิน 100 ตารางเมตร


** ตรวจสอบเงื่อนไขส่วนลดและสิทธิพิเศษ LG Member ได้ที่ https://www.lg.com/th/membership/